รู้ทันอันตรายของ ระดับน้ำตาลในเลือด ที่ไม่ปกติ

ทุกท่านจะต้องเคยได้ยินคำพูดที่ว่า “น้ำตาลในเลือดสูง” หรือน้ำตาลในเลือดต่ำอย่างแน่นอน ซึ่งระดับน้ำตาลในเลือด จะหมายถึง ความเข้มข้นของระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด กลูโคสจะถือเป็นหนึ่งในแหล่งพลังงานของเซลล์ในร่างกาย และยังเป็นน้ำตาลที่อยู่ในร่างกายหรือเลือดของเราอีกด้วย ซึ่งตามปกติแล้วเราจะต้องรักษาระดับน้ำตาลให้เลือดให้อยู่ในภาวะที่ปกติเสมอ เพราะหากคุณมีน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินไป จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้ beautifulmind.in.th แต่หากคุณมีน้ำตาลในเลือดที่ต่ำเกินไป จะทำให้คุณหน้ามืด อ่อนเพลีย หรือใจสั่นได้เช่นเดียวกัน

ประเภทของการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ทางการแพทย์ มีอะไรบ้าง

  1. วิธีการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง

ซึ่งทางการแพทย์จะเรียกวิธีการตรวจประเภทนี้ว่า Fasting Blood Sugar (FBS) โดยจะเป็นการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ในระยะเวลา  2 -3 วันที่ผ่านมา ส่วนใหญ่แล้วการตรวจประเภทนี้จะต้องตรวจในช่วงเช้า เนื่องจากจะเป็นช่วงที่ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในจุดต่ำที่สุดหลังจากงดอาหารมาเป็นเวลาหนึ่งคืนด้วยกัน ซึ่งปกติแล้วค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดจะสามารถผันผวนได้ตลอดทั้งวัน ขึ้นอยู่กับภาวะของร่างกาย ทั้งอาหารการกินต่าง ๆ รวมทั้งความเครียดด้วยเช่นกัน

ถ้าหากผลตรวจมีน้ำตาลกลูโคสต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิกรัม จะเท่ากับว่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่หากมีกลูโคสตั้งแต่ 100 – 125 มิลลิกรัม/เดซิกรัม จะจัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน คุณจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินทันที แต่หากคุณมีน้ำตาลกลูโคสมากกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิกรัมขึ้นไป จะเท่ากับว่าคุณเป็นโรคเบาหวาน จะต้องพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาโดยทันที

  1. วิธีการตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือดระยะเวลา 3 เดือน

ทางการแพทย์จะเรียกวิธีการตรวจประเภทนี้ว่า Glycohemoglobin HbA1c ได้แก่การตรวจค่าระดับน้ำตาลกลูโคสที่จับอยู่กับเฮโมโกลบิน หรือโปรตีนที่อยู่ในเซลล์เม็ดเลือดแดง เพราะตามปกติแล้วเซลล์ในเม็ดเลือดแดงจะมีอายุประมาณ 1 – 3 เดือน เพราะฉะนั้นการตรวจในรูปแบบนี้จะสามารถแสดงผลเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาได้ และยังสามารถวินิจฉัยโรคเบาหวานได้อย่างแม่นยำมากกว่าวิธีแรก อีกทั้งคุณยังไม่จำเป็นต้องอดอาหารและสามารถตรวจในช่วงเวลาไหนก็ได้

แต่ต้องบอกก่อนว่าการตรวจประเภทนี้จะมีราคาตรวจที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากจะต้องเข้ารับการตรวจที่ได้มาตรฐานจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในส่วนของผลตรวจประเภทนี้ หากระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ จะมีค่าเฉลี่ยสะสมอยู่ระหว่าง 4 – 6 เปอร์เซ็นต์ แต่หากคุณเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีระดับน้ำตาลอยู่ที่ประมาณ 6.5 เปอร์เซ็นต์

แนะนำวิธีเลี่ยงและวิธีป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดสูง

  • ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร อาหารถือเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือด สูงเลยก็ว่าได้ ซึ่งหากคุณต้องการลดระดับน้ำตาลในเลือดจะต้องลดอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต หยุดการดื่มน้ำหวาน น้ำอัดลม หรืออาหารที่มีน้ำตาลสูง อีกทั้งควรเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มน้ำ ซึ่งควรจะดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 2 ลิตร เนื่องจากน้ำเปล่าจะช่วยในเรื่องการขับน้ำตาลออกมาทางปัสสาวะ ทั้งยังสามารถช่วยป้องกันในเรื่องภาวะร่างกายขาดน้ำได้อีกด้วย
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยระดับน้ำตาลในเลือด เพราะการออกกำลังกายจะช่วยดึงพลังงาน และน้ำตาลออกมาใช้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งโดยปกติแล้วควรจะออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 – 45 นาที ทั้งนี้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะสามารถออกกำลังกายได้ แต่จะต้องเลือกวิธีการออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์
  • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอยู่เสมอ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอยู่เสมอ ถือเป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะนอกจากจะช่วยให้คุณสามารถรู้ระดับน้ำตาลในเลือดของตนเองได้แล้ว หากคุณมีน้ำตาลในเลือดที่ค่อนข้างสูงเกินไป จะสามารถลดระดับน้ำตาลได้ทันท่วงที หรือหากคุณมีระดับน้ำตาลในเลือดเกินปกติ จะได้รับการรักษาได้อย่างทันท่วงทีเช่นเดียวกัน

จะเห็นได้เลยว่าระดับน้ำตาลในเลือด มีผลต่อร่างกายเป็นอย่างมาก และยังส่งผลถึงปัญหาสุขภาพในอนาคตได้อีกด้วย ดังนั้นการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ จะช่วยให้คุณสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในภาวะปกติได้ ทั้งนี้คุณจะต้องใส่ใจในเรื่องของอาหารการกิน และจะต้องหมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ เพราะนอกจากจะช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในภาวะปกติแล้ว ยังช่วยให้คุณมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงมากยิ่งขึ้นอีกด้วย